บันทึกของนายวิมุติ
แชงกรีลา ย่าติง ลี่เจียง
17-26 ตุลาคม 2557
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
ซู่เหออยู่ห่างจากเมืองเก่าลี่เจียงไปทางเหนือราวสิบกว่าโล
เป็นเหมือนลี่เจียงย่อส่วน
มีหลายอย่างเหมือนกัน
วัฒนธรรมท้องถิ่นก็คือวัฒนธรรมน่าซีเหมือนกัน
งานช่าง
งานฝีมือ
สถาปัตยกรรมก็แทบไม่ต่างกัน
ทั้งลี่เจียงและซู่เหอได้รับการประกาศเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมคู่กัน
บางทีการมาซู่เหออาจทำให้คนที่อยากเห็นวัฒนธรรมน่าซีแต่ผิดหวังจากความอึกทึกที่ลี่เจียงได้รับความประทับใจกลับไปบ้างก็ได้
น่ายินดีที่ซู่เหอวันนี้ไม่ต่างจากที่เคยเห็นมากนัก
นักท่องเที่ยวไม่มาก
ท้องถนนมีที่ว่างพอที่จะให้มีรถม้าบริการ
ผับบาร์มีบ้าง
แต่ก็ไม่หนวกหู
ตามซอกซอยยังคงมีช่างเงินนั่งทำงานส่งเสียงโป๊กเป๊กอยู่แทบทุกซอย
ไม่ได้หิวกาแฟ
แค่อยากเก็บข้อมูลเรื่องการเขียนป้ายด้วยภาษา
Chinglish
ร้านเครื่องเงิน
ที่มีช่างตีเงินหน้าร้าน
ยังคงมีอยู่
สินค้าที่วางขายที่นี่ไม่ต่างจากที่ลี่เจียงนัก
มีเป้าหมายน่าสนใจหลายอย่างที่ผมอยากกลับมาดูอีกครั้ง
แต่ไม่รู้ว่าผมเซ่อหรือแผนที่ซู่เหอเขียนไว้ไม่ดี
ดูไม่รู้เรื่อง
จับทิศจับทางอะไรแทบไม่ได้เลย
วันนี้จึงเน้นหนักไปทางเดินมั่วเสียมากกว่า
พวกเราแยกย้ายกันเดินตามอัธยาศัย
นัดมาเจอกันที่ตรงประตูทางออกตอนบ่ายสอง
ถึงตอนเที่ยง
ท้องก็เริ่มร้องแล้ว
ปัญหาว่าจะกินอะไรไม่สำคัญเท่ากับจะสั่งยังไง
ตอนนี้ผมเดินอยู่กับติ๋วสองคน
คนสั่งเป็นไม่อยู่
ดีที่ไปเห็นร้านขายเนื้อย่างอยู่พอดี
มีโต๊ะให้นั่งกินด้วย
เป็นของที่สั่งง่ายเลยสั่งกินมันตรงนั้นเสียเลย
มีน้ำมะม่วงรสชาติดีแกล้ม
พอกินเนื้อย่างคนละสองสามไม้
เซง
มิ้น
และเอ๋
ก็ตามมาเจอพอดี
เลยมาร่วมวงเนื้อย่างด้วยอีกพักนึง
แล้วไปต่อที่ร้านไก่ทอดที่อยู่ใกล้
ๆ
มื้อกลางวัน
ระบบแช่เย็นน้ำขวดสุดเท่
ที่ยังพบได้ที่ซู่เหอที่เดียว
จำได้ว่าที่ชานเมืองมีทุ่งดอกไม้สีเหลืองอร่ามทั้งทุ่งสูงเท่าคน
อยากจะไปถ่ายรูปอีก
แต่เดินเท่าไหร่ก็หาไม่เจอ
ยังดีที่คลำหาทางข้ามสะพานไปเดินยังเขตหมู่บ้านเชิงเขาได้
ที่นี่ผมพาติ๋วไปดูสิ่งหนึ่งที่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผมชอบซู่เหอ
นั่นคือแปลงผักกลางหมู่บ้าน
แต่พอติ๋วเห็นเข้าก็ถึงกับขำกลิ้ง
ว่าพามาดูแปลงผักเนี่ยนะ
ไม่รู้ขำอะไรนักหนา
คนอุตส่าห์ภูมิใจเสนอ
ซอยที่เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางชาม้า
ซึ่งถือว่าเป็นเส้นทางสายไหมฉบับทิเบต
เราก็หาไม่เจอ
ทั้งที่จำได้ว่ามันอยู่เชิงเขานี่เอง
แปลงผักกลางเมือง
ยังคงมีอยู่
ระบบจัดการน้ำด้วยบ่อสามตอน
ไม่ได้ไปดูในลี่เจียง
ดูของซู่เหอเอาก็ได้
สะพานชิงหลง
อายุเก่าแก่ถึง
๔๐๐
กว่าปีแล้ว
ถือว่าเก่าแก่ที่สุดในย่านลี่เจียง
มีขนาดใหญ่กว่าต้าสือเฉียวในเมืองเก่าลี่เจียงเสียอีก
ซื่อฟางเจีย
จัตุรัสกลางของซู่เหอ
ตอนแรกนึกว่าป้ายบอกว่าห้ามถ่ายภาพ
ต้องเปิดดิกดูถึงรู้ว่าเป็นป้ายห้ามจอดรถในที่ห้ามจอด
ฝ่าฝืนเจอถ่ายรูปเป็นหลักฐานจับปรับ
ตอนนั่งแท็กซี่มาจากลี่เจียงเมื่อเช้า
เซงถามโชเฟอร์ถึงสถานที่แห่งหนึ่งที่ไม่ค่อยคุ้นหูนักท่องเที่ยวทั่วไปนัก
นั่นคือ
อวี้หูชุน
ถามว่าเป็นยังไง
เที่ยวได้ไหม
โชเฟอร์ตอบด้วยสำเนียงท้องถิ่นว่า
"ยู่หูชุย
น่ะเหรอ
นั่นน่ะบ้านพ้มเอง"
อ้าว
บังเอิญจริง
ๆ
เขาบอกว่าน่าเที่ยวใช้ได้เลย
ยังจะดีกว่าซู่เหอเสียด้วยซ้ำ
ด้วยเหตุนี้
บ่ายนี้เราจึงจะแวะไปอวี้หูชุนกัน
อยู่ห่างจากซู่เหอไม่ไกล
ระหว่างทางไปอวี้หูชุน
อวี้หูชุน
หรือหมู่บ้านอวี้หู
เป็นหมู่บ้านขนาดย่อมราว
๒๐๐
กว่าหลังคาเรือน
ตั้งอยู่ชิดตีนเขามังกรหยก
เป็นชุมชนเก่าแก่มาก
เกิดขึ้นก่อนการสร้างเมืองซู่เหอและลี่เจียงเสียอีก
จุดเด่นของหมู่บ้านนี้คือ
ผนังบ้านจะก่อด้วยก้อนหินผสมโคลน
ดูสวยเป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนที่อื่น
ป้าอ้อยไปสอยหนังสืออักษรตงปามาตั้งแต่เมื่อไหร่ไม่รู้
เมื่อราวเกือบร้อยปีก่อน
นักพฤกษศาสตร์ชาวอเมริกันเชื้อสายออสเตรียคนหนึ่ง
ชื่อ
โจเซฟ
ร็อก
ได้เดินทางมาถึงลี่เจียงเพื่อศึกษาและเก็บตัวอย่างพรรณไม้
โจเซฟประทับใจและหลงใหลเสน่ห์ของสถานที่และผู้คนที่นี่มาก
จนถึงกับหันมาศึกษาวัฒนธรรมน่าซีอย่างจริงจังแทน
โจเซฟส่งผลงานกลับไปยังเนชันแนลจีโอกราฟิก
และได้ตีพิมพ์อย่างต่อเนื่องเป็นเวลากว่าสิบปี
งานเขียนของโจเซฟนี่เองที่ทำให้ฝรั่งเริ่มรู้จักวัฒนธรรมน่าซีจากแดนอันลี้ลับนี้
หนึ่งในบุคคลที่ได้รับแรงบันดาลใจจากงานเขียนของโจเซฟอย่างมากก็คือ
เจมส์
ฮิลตัน
ซึ่งเขาได้ถ่ายทอดแรงบันดาลใจนี้ผ่านจินตนาการออกมาเป็นนิยายที่ชื่อว่า
"ลอสต์เฮอไรซอนส์"
ในนิยายเรื่องนี้
เจมส์ได้เนรมิตดินแดนลับแลแห่งหนึ่ง
ชื่อของเมืองนั้นก็คือ
"แชงกรี-ลา"
ที่ผู้คนคุ้นหูและนำไปใช้กันทั่วโลกนั่นเอง
โจเซฟ
ร็อก
อาจไม่ใช่ฝรั่งคนแรกที่เข้ามาที่ลี่เจียง
แต่เขาเป็นคนแรกที่ศึกษาวัฒนธรรมน่าซีจนเข้าใจอย่างถ่องแท้
โจเซฟปักหลักอยู่ที่นี่นานถึง
๒๗
ปี
ก่อนที่ความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในจีนผลักดันให้เขาต้องกลับอเมริกาไป
โจเซฟ
ร็อก
ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งวิชาน่าซีศึกษา
เขาได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ก่อนที่จะเสียชีวิตไม่นานที่ฮาวาย
ถึงกระนั้น
หัวใจของโจเซฟ
ร็อก
ก็ไม่เคยไปจากลี่เจียง
ในจดหมายฉบับหนึ่งที่เขาเขียนถึงเพื่อน
เขาได้แสดงความปรารถนาที่จะใช้ลมหายใจสุดท้ายในบ้านที่เชิงเขาอวี้หลงเสวี่ยซันมากกว่าบนเตียงนอนนุ่ม
ๆ
ในโฮโนลูลู
หมู่บ้านที่โจเซฟ
ร็อกอาศัยอยู่นั้นก็คือ
หมู่บ้านอวี้หู
ที่เรามาเยือนวันนี้นั่นอง
บ้านที่โจเซฟ
ร็อกเคยอาศัยอยู่
ได้รับการเก็บรักษาไว้
ปัจจุบันบ้านหลังนั้นกลายเป็นพิพิธภัณฑ์
"บ้าน
ดร.
โจเซฟ
ร็อก"
ภายในมีการแสดงผลงาน
ทั้งภาพถ่ายและหนังสือ
รวมถึงข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัวบางส่วนที่เขาทิ้งไว้
มีอาม่าแก่
ๆ
คนหนึ่งเป็นผู้ดูแล
อาม่าคนนี้น่าจะอายุใกล้
๘๐
ปีแล้ว
ผมมองอาม่าแล้วจินตนาการว่า
อาม่าอาจเกิดและโตที่นี่
อาจเคยใช้ชีวิตวัยเด็ก
เคยวิ่งเล่นแถวหน้าบ้านของฝรั่งที่ชื่อ
"ลั่วเก้อ"
ผู้เป็นเจ้าของบ้านหลังนี้มาก่อน
ตาลั่วเก้ออาจเคยแบ่งขนมให้
หรือไม่ก็เคยเปิดหน้าต่างออกมาดุเพราะว่าเล่นซนเสียงดัง
เสียดายที่ความสงสัยของผมไม่อาจถ่ายทอดมาเป็นคำถามได้
คนอื่นกลับออกไปนานแล้ว
เหลือเพียงผมและมิ้นที่ออกทีหลังสุด
ผมทำได้เพียงกล่าวคำลาต่ออาม่า
อาม่าโบกมือส่งเราด้วยสายตาที่เหมือนจะบอกผมว่า
"ฉันมองออกรู้ว่าเธอคิดอะไร
ฉันก็มีเรื่องจะเล่า
แต่ไม่รู้จะบอกเธออย่างไร"
โชเฟอร์บอกว่า
บ้านหลังทางขวานี่
อายุถึง
๒๐๐
ปีแล้ว
ประตูหน้าปิดอยู่
โรงเรียนประถม
ตั้งอยู่ข้าง
ๆ
บ้านของโจเซฟนี่เอง
มีชาวสิงคโปร์มาออกทุนสร้างให้
อัตราค่าเข้าชมสำหรับชาวต่างชาติคนละ
๔๐
หยวน
แต่เขาคิดเราแค่
๒๕
หยวน
เรือนหลังที่สาม
ผมได้สิทธิ์เข้าไปเพียงคนเดียว
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
เผยแพร่ : 16 พ.ย. 64 แก้ไขครั้งล่าสุด : 28 พ.ย. 65